เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองเดือนสตรีสากลในปีนี้ Netflix ได้จัดงานอภิปรายทั้งในรูปแบบออนไลน์และออฟไลน์ ภายใต้คอนเซ็ปต์ Reflections of Me ภาพสะท้อนของตัวฉัน ณ กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย โดยมีสื่อมวลชน ผู้ทรงอิทธิพล และคนในวงการภาพยนตร์จากทั้งอินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย และเวียดนาม เข้าร่วมงานกว่า 200 คน โดยในงานนี้เป็นการรวมตัวกันของเหล่าครีเอเตอร์และผู้คนทั้งเบื้องหน้าและเบื้องหลังจาก Netflix ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEA) เพื่อร่วมพูดคุยและแบ่งปันประสบการณ์ของผู้หญิงในอุตสาหกรรมบันเทิง ตลอดจนอิทธิพลของผู้หญิงที่มีต่ออุตสาหกรรมครีเอทีฟในภูมิภาคนี้
เอมี่ กุลโรจน์ปัญญา รองประธานฝ่ายประชาสัมพันธ์ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกของ Netflix ได้กล่าวถึงความสำคัญของการสะท้อนเรื่องราวบนจอภาพยนตร์ในงานนี้ว่า "Netflix เชื่อว่าเรื่องราวดี ๆ มาได้จากทุกที่ และผลกระทบที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคือการสร้างความเห็นอกเห็นใจและความเข้าใจผ่านเรื่องราวที่เราบอกเล่า ผู้คนจำนวนมากสมควรที่จะได้เห็นชีวิตของพวกเขาบนหน้าจอ และเราต้องการส่งมอบพลังผ่านประสบการณ์ของผู้ชมเมื่อพวกเขาได้ชมเรื่องราวของตัวเองสะท้อนอยู่ในเรื่องราวของเรา"
นอกจากนี้ เอมี่ ยังได้กล่าวเสริมว่า "เราจัดงาน Reflections of Me ภาพสะท้อนของตัวฉัน ขึ้นเพื่อเป็นเกียรติแก่ผู้หญิงในอุตสาหกรรมบันเทิงผู้สร้างแรงบันดาลใจทั้งจากเบื้องหน้าและเบื้องหลัง แต่สิ่งที่สำคัญกว่านั้นคือ เพื่อเชื่อมโยงผู้คนจากหลากหลายภูมิหลังและวัฒนธรรม ตลอดจนเพื่อเฉลิมฉลองเดือนสตรีสากลนี้ผ่านการเล่าเรื่องเกี่ยวกับผู้หญิง เพื่อผู้หญิง โดยผู้หญิง"
ไฮไลท์สำคัญของงานคือช่วงการอภิปรายภายใต้คอนเซ็ปต์ Reflections of Me ภาพสะท้อนของตัวฉัน โดยมีนักแสดงและผู้กำกับภาพยนตร์จากทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ร่วมเป็นตัวแทนในการอภิปราย ภายในงาน มาริสสา อานิตา นักแสดง เรื่อง Ali & Ratu Ratu Queens (อาลีกับราชินีแห่งควีนส์) นักข่าว และพรีเซ็นเตอร์ชาวอินโดนีเซีย รับหน้าที่เป็นผู้ดำเนินรายการ พร้อมด้วยวิทยากรระดับบล็อคบัสเตอร์ ได้แก่ อนูปามา โจปรา นักวิจารณ์ภาพยนตร์ชาวอินเดีย เอเรน เทรน โดโนฮิว นักเขียนบทชาวเวียดนาม-ไอริช ผู้เขียนเรื่อง A Tourist’s Guide To Love คามิลา อันดินี ผู้กำกับภาพยนตร์เรื่อง Cigarette Girl (ความรักควันบุหรี่) ชาวอินโดนีเซีย โดนัท มนัสนันท์ พันเลิศวงศ์สกุล นักแสดงจากเรื่อง Thai Cave Rescue (ถ้ำหลวง: ภารกิจแห่งความหวัง) ผู้กำกับ ผู้ผลิต และนักเขียนบทชาวไทย และ มาร์ลา แอนเชตา ผู้กำกับภาพยนตร์ชาวฟิลิปปินส์ เรื่อง Doll House (บ้านตุ๊กตา) ซึ่งผู้อภิปรายทุกท่านได้ร่วมพูดคุยและแบ่งปันประสบการณ์ในฐานะผู้หญิงที่อยู่ในอุตสาหกรรมบันเทิง พร้อมเล่าถึงการเดินทางของพวกเธอบนเส้นทางการสร้างสรรค์ผลงานภาพยนตร์ รวมถึงร่วมวิเคราะห์ถึงอิทธิพลของสตรีในการสร้างสรรค์สิ่งต่าง ๆ ให้กับวงการและอุตสาหกรรมภาพยนตร์ทั้งจากเบื้องหน้าและเบื้องหลัง
ผู้ร่วมอภิปรายเห็นตรงกันถึงความจำเป็นในการพูดคุยเพิ่มเติมอย่างจริงจังเพื่อสร้างความเป็นเปลี่ยนแปลงในอุตสาหกรรมนี้ โดย อนูปามา โจปรา นักวิจารณ์ภาพยนตร์ชาวอินเดีย กล่าวว่า "การพูดคุยเพิ่มเติมในแง่มุมเล็กๆ น้อย ๆ เกี่ยวกับการนำเสนอและการเล่าเรื่องจะส่งผลให้สิ่งที่เราเห็นบนหน้าจอมีความเปลี่ยนแปลงได้ ดังนั้นการร่วมพูดคุยกันในวันนี้จะช่วยให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในอุตสาหกรรมได้ในที่สุด"
นอกจากนี้ พวกเธอยังได้สะท้อนให้เห็นถึงความท้าทายในการนำเสนอตัวละครผู้หญิงในวงการภาพยนตร์ ซึ่ง คามิลา อันดินี ผู้กำกับภาพยนตร์ชาวอินโดนีเซียได้กล่าวถึงประเด็นนี้ว่า "ผู้หญิงถูกคาดหวังให้เป็นบางสิ่งบางอย่างตลอดเวลา เช่น เป็นแม่หรือภรรยาที่สมบูรณ์แบบ ต้องใช้ชีวิตของเราเพื่อผู้อื่น หรือเป็นคนที่คนอื่นต้องการให้เราเป็น แต่ฉันเข้าใจว่ามันค่อนข้างยากและใช้ความกล้าหาญอย่างสูงในการที่จะตัดสินใจเลือกด้วยตนเอง ดังนั้นตัวละครของฉันจึงไม่เคยมีแต่ด้านสีขาวหรือดำ พวกเขาต่างมีจุดอ่อนแต่ก็มีคุณลักษณะที่ยอดเยี่ยมเช่นกัน" ในขณะที่ เอเรน เทรน โดโนฮิว นักเขียนบทชาวเวียดนาม-ไอริช กล่าวเสริมว่า "เราควรที่จะยอมรับและเข้าใจถึงความซับซ้อนที่มีอยู่ในตัวของผู้หญิงแต่ละคน เพื่อเธอจะได้เป็นตัวเองได้อย่างเต็มที"
เมื่อถามถึงการที่ครีเอเตอร์และนักแสดงหญิงชาวเอเชียได้รับการยอมรับมากขึ้นในแวดวงภาพยนตร์ โดนัท มนัสนันท์ พันเลิศวงศ์สกุล กล่าวถึงความรู้สึกของเธอว่า "ผู้หญิงชาวเอเชียควรได้รับโอกาสให้ได้เล่นบทที่หลากหลายมากขึ้น ตัวอย่างเช่น เมื่อดูภาพยนตร์หรือซีรีย์ที่แสดงโดยผู้หญิงชาวเอเชีย เรามักจะเห็นแม่ที่มีความเข้มงวดหรือลูกสาวที่ต่อต้านครอบครัว ซึ่งจริง ๆ แล้วมันขึ้นอยู่กับผู้กำกับภาพยนตร์และนักเขียนที่ต้องนำเสนอให้คาเรคเตอร์ของผู้หญิงมีความหลากหลายมากยิ่งขึ้น ไม่ใช่ตีกรอบให้เราในแบบเดิม ๆ"
ซึ่ง มาร์ลา แอนเชตา ผู้กำกับภาพยนตร์ชาวฟิลิปปินส์ ชี้ว่าในขณะที่ผู้หญิงดูเหมือนจะได้รับการยกย่องและประสบความสำเร็จมากขึ้นในสื่อกระแสหลัก แต่ก็นำมาซึ่งความท้าทายแก่เหล่าครีเอเตอร์สุภาพสตรี "ผู้คนจะคาดหวังจากเรามากขึ้น โดยเฉพาะเรื่องผลงาน เราจึงจำเป็นต้องสร้างเนื้อหาที่ดีขึ้นและต้องมีความตระหนักรู้ถึงทัศนคติที่หลากหลายของผู้คนมากขึ้น เพื่อให้เราสามารถสื่อสารกับสังคมได้ดีขึ้น" เธอกล่าวปิดท้าย
ผู้เข้าร่วมงานรับชมบูธกิจกรรมอินเตอร์แอคทีฟ อินสตอลเลชั่น พร้อมแบ่งปันความคิด มุมมอง และเรื่องราวของตนเอง
นอกจากการอภิปรายแล้ว ผู้เข้าร่วมงานยังได้เพลิดเพลินกับการแสดงในรูปแบบ Spoken Word จาก สก์ดิยาห์ มะรุฟ นักเล่าบทกวี คอมเมเดี้ยน และนักแสดงชาวอินโดนีเซีย ที่มาแบ่งปันมุมมองเกี่ยวกับความสำคัญของการเป็นตัวแทนบนหน้าจอ โดยการแสดง Spoken Word และการอภิปรายได้ถูกถ่ายทอดสดผ่านช่องยูทูป Netflix Asia ทั้งนี้ผู้เข้าร่วมงานยังได้ร่วมแบ่งปันแนวคิดและความคิดเห็น ผ่านทางบูธกิจกรรมอินเตอร์แอคทีฟ อินสตอลเลชั่นอันน่าตื่นเต้นอีกด้วย
สามารถชมคอลเลคชั่นพิเศษของ Netflix ที่มีตัวละครหลักเป็นผู้หญิง เนื่องในวันสตรีสากล (ตั้งแต่ 1-31 มีนาคม) ที่นี่
สามารถรับชมตัวอย่างภาพยนตร์ได้ ที่นี่
รายชื่อภาพยนตร์:
📺 ฉายแล้ว: Thai Cave Rescue (ถ้ำหลวง: ภารกิจแห่งความหวัง…)
🎥 ฉายแล้ว: Dear David (เดวิดที่รัก)
🎥 ฉายแล้ว: The Big 4 (เดอะ บิ๊ก โฟร์)
🎥 ฉายแล้ว: Finding Agnes (ตามรอยรักของแม่)
🎥 ฉายแล้ว: My Amanda (มาย อแมนด้า)
🎥 ฉายแล้ว: Doll House (บ้านตุ๊กตา)
🎥 ฉายแล้ว: Three Widows Against the World
🎥 ฉายแล้ว: Rise
📺 ฉายแล้ว: Titoudao
🎥 23 มีนาคม: Furies
🎥 8 เมษายน: Hunger (คนหิว เกมกระหาย)
🎥 21 เมษายน: A Tourist's Guide to Love
🎥 เร็ว ๆ นี้: Gadis Kretek (ความรักควันบุหรี่)