“วรรณกรรมหลายเล่มบนโลกใบนี้มีความหมายสำคัญซ่อนอยู่ระหว่างบรรทัด สร้างแรงบันดาลใจที่ยิ่งใหญ่ให้แก่ผู้อ่านนับไม่ถ้วน การได้มีโอกาสเป็นผู้สร้างภาพยนตร์ “ฟ.ฮีแลร์” ก็เท่ากับได้มีโอกาสศึกษาวรรณกรรมของ “ฟ.ฮีแลร์” ในทุกบทกวี
บราเดอร์ฮีแลร์ อาจจะเป็นครูของใครหลายๆคนในอดีต แต่สำหรับข้าพเจ้าแล้ว ท่านคือมนุษย์ผู้ยิ่งใหญ่ ผู้ซึ่งสอนให้ข้าพเจ้าได้รับรู้ว่า เมื่อเราได้เกิดมาเป็นมนุษย์แล้ว เราควรอุทิศตนให้แก่ผู้อื่นตอบแทนโลก ตอบแทนบุญคุณแผ่นดิน “มากกว่ามัวแต่คิดแค่เรื่องของตัวเอง”
สุรัสวดี เชื้อชาติ
ผู้กำกับภาพยนตร์ “ฟ.ฮีแลร์”
การเดินทางสุดขอบโลก เพื่อค้นหาสัจธรรมของมนุษย์ ศาสนาเป็นเพียงสิ่งสมมุติเพื่อให้มนุษย์เชื่อและกลัวเกรงโดยไม่จำเป็นต้องหาเหตุผล ปริศนาธรรมที่มนุษย์หลายผู้นามพยายามค้นคว้าหาคำตอบมาเนิ่นนาน กับการเดินทางที่ไม่เคยจบสิ้นของคนบางคนทำไมโลกจึงวุ่นวายหนอ ทำไมมนุษย์จึงไม่พยายามผดุงโลกไว้ หรือเป้นเพราะมนุษย์ไม่รู้จักตั้งคำถาม หรืออ่อนแอเกินกว่าที่จะฟังความจริงที่ปวดร้าว ความกลัวจึงเป็นสิ่งที่แฝงอยู่ในจิตใจมนุษย์ตลอดมา กลัวเหงา กลัวเจ็บ กลัวแก่ กลัวโดนเอาเปรียบจึงละเลยที่จะกล้า ไม่กล้าในทุกเรื่อง ไม่กล้าเสีย ไม่กล้าล้ม ไม่กล้าแพ้ ไม่กล้าสู้ ไม่กล้าทำ.....
การยกตัวอย่างเรื่อง ฟ. ฮีแลร์ จึงเป็นเรื่องของการตั้งคำถามผ่านความสงสัยของผู้ที่ไม่เคยใส่ใจเรื่องของความเป็นมนุษย์เลยด้วยซ้ำ พงศธรตั้งคำถามผ่านการเดินทางของชีวิต ฟ. ฮีแลร์ เขาเริ่มจากแค่อยากทำวิทยานิพนธ์โดยไม่ได้รู้ลึกถึงบุคคลคนนั้นด้วยซ้ำ แต่การค้นคว้าที่จำเป็นต้องทำ กลับทำให้คนไม่ค่อยเอาอ่าวอย่างพงศธรตกหลุมและหยั่งลึกเข้าไปในปริศนาธรรมที่ทำให้พงศธรเจอะเจอคำถามและคำตอบในเรื่องของความเป็นมนุษย์มากมายไปหมดความสงสัยใคร่รู้ที่ค่อย ๆ หยั่งลึกของพงศธรคงไม่ใช่แค่วิทยานิพนธ์ 1 เล่มเสียแล้ว หากแต่เขาเริ่มไม่เข้าใจว่า เหตุใตชายหนุ่มชาวฝรั่งเศสที่เป็นนักบวชตั้งแต่เยาว์วัย ต้องยอมทิ้งบ้าน ทิ้งครอบครัว ทิ้งพ่อแม่ไว้ที่ฝรั่งเศสเพียงเพื่อเดินทางพลิกโลกมาอีกซีก มายังทวีปอันไกลโพ้น เขาเดินทางฝ่าคลื่นลมแห่งความยากเย็นเพียงเพื่อมาเป็นครูที่เมืองสยามแค่นั้นหรือ หรือ ฟ. ฮีแลร์ เป็นพระหนุ่มที่กำลังตามหาความหมายของชีวิตการค้นคว้าของพงศธร คงไม่ใช่แค่การขุดเจอศักยภาพของฝรั่งคนหนึ่ง ที่แต่งหนังสือไทยได้สำเร็จ แต่การเพียรพยายามที่จะสื่อสารมากกว่ากลับเป็นเรื่องที่น่าค้นหาเมื่อไหร่ก็ตามที่เราสื่อสารได้ และได้ดีมาก ก็เท่ากับทำให้เราได้เจอคำตอบต่างๆ ที่สงสัยอีกมากมายการค้นคว้าเพื่อทำวิทยานิพนธ์ของพงศธรเป็นเส้นขนานคู่ไปกับความวิริยะของฟ.ฮีแลร์ ฟ.ฮีแลร์เองก็ค้นคว้าด้านภาษา จนรู้ความหมายอย่างลึกซึ้งของคำหลายๆคำ
ฟ. ฮีแลร์ท่านอาจเดินทางมาไกล จนไม่จำเป็นต้องหวนกลับ การก้าวข้ามคำว่าดินแดน คำว่าอาณาเขตและคำว่าศาสนา ยิ่งเป็นสิ่งที่ทำให้ ฟ. ฮีแลร์ตระหนักรู้ว่าจุดหมายของชีวิตอยู่ตรงไหน ความสุขของมนุษย์บกพร่องเพราะตัวมนุษย์เองการขาดแคลนจึงจำเป็นต้องเติมให้เต็มเพื่อมนุษย์จะได้อยู่ร่วมกันอย่างสันติในดินแดนที่ใครๆ ปรารถนาแต่มนุษย์ไม่เคยทำได้ ฟ. ฮีแลร์หาคำตอบพร้อมๆกับการค้นคว้าของพงศธรจนกระทั่งคน 2 ยุคได้ค้นพบคำตอบ นั้นไปด้วยกัน
เมตตา metta mercy......
ไม่ว่าจะเป็นภาษาบาลี เขมร ไทย อังกฤษ และฝรั่งเศส คำว่าเมตตามีรากศัพย์เดียวกัน ความหมายเหมือนกัน และก็เป็นคำคำเดียวที่มนุษย์ควรมีให้แก่กันและกันอย่างยิ่งและมันก็เป็นกุญแจดอกเดียวที่จะทำให้โลกสวย พงศธรยังเป็นครูแบบไหน....ต่อไป ได้เรียนรู้วิถีของครูแบบ ฟ.ฮีแลร์ ได้พบคำตอบมากมายจากวิทยานิพนธ์ฉบับที่เขาศึกษาและค้นคว้าเองหรือไม่... จึงเป็นเรื่องที่ล้ำลึกและค้นคว้าไปพร้อม ๆ กัน ครูสมัยก่อนกับครูสมัยนี้จะวัดกันได้ด้วยกุญแจของความเป็นมนุษย์ผู้ให้ได้ต่อไป หรือไม่ คำตอบ....อยู่ในวิทยานิพนธ์ฉบับนี้ของพงศธรนั่นเอง วิทยานิพนธ์เรื่อง.......
ฟ. ฮีแลร์.....ครูฝรั่งในเมืองสยาม.
9 กรกฎาคม 2558 ในโรงภาพยนตร์