ข่าว > ข่าวหนังทั้งหมด > วิจารณ์หนังใหม่

ฝากไว้..ในกายเธอ

7 ส.ค. 2557 09:38 น. | เปิดอ่าน 1462 | แสดงความคิดเห็น
แชร์หน้านี้ แชร์หน้านี้
 

 

ขอเชิญชาวหนังดีทุกคนมาวิพากษ์วิจารณ์หนังเรื่องนี้กันใครไปดูมาแล้ว เป็นยังไงหนุกไม่หนุกบอกกันมาเลย

*** หากจะสปอยล์เนื้อหาบางส่วนของเรื่อง แนะนำให้เตือนสมาชิกคนอื่นๆ ล่วงหน้า
โดยให้สมาชิกคนอื่นได้เห็นคำว่า
สปอยล์ หรือ Spoil กันอย่างชัดเจนด้วยนะจ๊ะ

: ฝากไว้..ในกายเธอ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • “เวียร์” ยิ้มแก้มปริ นำทีม “ล่ารักสุดขอบฟ้า” หอบรางวัล “อีเอฟเอ็ม อวอร์ด”
  • “ฝากไว้..ในกายเธอ” ของผกก. จิม โสภณ เจ๋ง!! เทศกาลหนัง “East Wind Film Festival , Coventry อังกฤษ เชิญร่วมงาน
  • เก้า สุภัสสรา ลุ้น ฝากไว้..ในกายเธอ 100ล้าน ยันกระแสดาราหน้าเดียว เล่นตามบทที่ได้รับ
  • ''จิม-โสภณ'' เผยแง่มุมจากผู้กำกับฯ ฝากแง่คิดไว้ให้คนดู''ฝากไว้..ในกายเธอ''
  • ต่อ-ธนภพ ทุ่มสุดตัวเพื่อภาพยนตร์ “ฝากไว้..ในกายเธอ”
  •  
     
     
    ร่วมแสดงความคิดเห็น
     
    ชื่อ :
     
    ความคิดเห็น :
     
     
     
     

    ความคิดเห็นที่ 12  จากคุณ “สปอยล์ร้อยแรงม้า”     8 ส.ค. 2557 03:32 น.

    Ascites

    Ascites หรือน้ำในช่องท้อง เป็นทั้งอาการ(คือสิ่งที่ผู้ป่วยบอกแพทย์) และอาการแสดง (คือสิ่งที่แพทย์ตรวจพบ)ที่พบบ่อยมาก ผู้ป่วยมักรู้สึกว่า ท้องตนเองโตขึ้น ถ้าเป็นเช่นนั้นจะต้องนึกถึงสาเหตุต่างๆ เช่น เป็นโรคอ้วน มีลมมากในช่องท้อง มีน้ำ ตั้งครรภ์ (ผมเคยตรวจเด็กนักเรียนที่มาหาผมที่จุฬาฯ ด้วยอาการท้องโตขึ้นและตรวจพบเป็นการตั้งครรภ์) หรือมีก้อนเนื้อ ฯลฯ แต่เมื่อตรวจพบว่าท้องที่โตนั้นเป็นน้ำ จะต้องนึกถึงสาเหตุต่างๆ เช่น โรคตับ (เป็นสาเหตุประมาณ 84% ของน้ำในช่องท้องทั้งหมด) โรคหัวใจและโรคมะเร็งที่เกิดขึ้นในช่องท้องหรือกระจายมาจากที่อื่น (ประมาณ 10-15%) จากวัณโรค หรือการติดเชื้ออื่นๆ ในช่องท้อง จากโรคไต จากโรคตับอ่อนอักเสบเฉียบพลัน หรือจากต่อมไทรอยด์ทำงานไม่เต็มที่ (hypothyroid)

    การแยกแยะโรคต่างๆนี้ แพทย์จะซักประวัติและตรวจร่างกายอย่างละเอียด เช่น จากประวัติอาจทราบว่าผู้ป่วยเคยเป็นโรคไวรัสตับอักเสบชนิดบีหรือซี หรือมีประวัติที่เสี่ยงต่อการได้รับเชื้อ 2 ตัวนี้ คือ พ่อแม่มีเชื้อมาก่อนหรือเคยเป็นโรคตับ ดื่มแอลกอฮอล์มากมานานหรืออ้วนมากมานาน (อ้วนมากทำให้เป็นโรคตับแข็งได้) มีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ปลอดภัยหรือมีการใช้ยาเสพติด โดยใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน

    การตรวจร่างกายสามารถแยกแยะได้ว่าเป็นโรคตับ คือมีอาการแสดงของโรคตับ หรือตรวจพบว่าเป็นโรคหัวใจ เพราะมีอาการแสดงของโรคหัวใจ เช่น ความดันของหลอดเลือดที่คอสูงกว่าปกติ (raised jugular venous pressure) หัวใจโต หัวใจเต้นเร็ว มีเสียงหัวใจเต้นผิดปกติ ฯลฯ การตรวจหน้าท้องอาจพบก้อนมะเร็ง อาการและอาการแสดงร่วมอื่นๆ เช่น อาจพบว่าผู้ป่วยมีน้ำหนักลด เบื่ออาหาร มีต่อมน้ำเหลืองโตหรือตับโต (มะเร็งลามไป) ฯลฯ ถ้าเป็นการติดเชื้อในช่องท้องผู้ป่วยอาจมีไข้

    การตรวจเพิ่มเติมทางห้องแล็ป แล้วแต่ว่าสงสัยโรคอะไร แต่ทุกผู้ป่วยที่มีน้ำในช่องท้อง แพทย์จะต้องเจาะท้องเอาน้ำไปตรวจหาสาเหตุที่แท้จริงของโรค เช่น มาจากการติดเชื้อ จากมะเร็ง จากโรคตับแข็งธรรมดา ฯลฯ แพทย์จะดูสีน้ำที่เจาะได้ว่า ขุ่น แดงไหม และเอาน้ำไปตรวจหาเม็ดเลือดขาว แดง เซลล์มะเร็ง โปรตีน น้ำตาล ฯลฯ

    ส่วนการรักษาขึ้นอยู่กับสาเหตุว่า เป็นโรคอะไร ถ้าเป็นวัณโรคก็ให้ยารักษา ถ้าเป็นโรคตับแข็งโดยไม่มีการติดเชื้อแทรกก็เป็นการรักษาน้ำในช่องท้องเฉยๆ ถ้าน้ำในช่องท้องมีการติดเชื้อก็ต้องให้ยาปฏิชีวนะเพื่อกำจัดเชื้อโรคให้หมดสิ้นไป

    การรักษาน้ำในช่องท้องที่เกิดจากโรคตับแข็งที่ไม่มีภาวะแทรกซ้อน หลักการใหญ่ๆคือ การรับประทานเค็มให้น้อยลงเหลือ 2 กรัมต่อวัน โดยสรุปคืออย่าใช้น้ำปลา ซีอี๊ว เกลือ ฯลฯ บนโต๊ะอาหาร และเวลาปรุงอาหารอย่าใส่ให้เค็มมาก ควรได้รับคำแนะนำวิธีปรุง ทำอาหารจากนักโภชนาการ หลีกเลี่ยงอาหารกระป๋องหรืออาหารที่รสเค็มจัด ถ้าลดความเค็มแล้วยังไม่ได้ผล ต้องใช้ยาขับปัสสาวะ(diuretic)ด้วย ซึ่งปัจจุบันมักใช้ยา 2 ตัวร่วมกัน แต่ถึงใช้ยาขับปัสสาวะก็ยังต้องควบคุมการรับประทานเค็ม

    ถ้าคุมความเค็ม ให้ยาขับปัสสาวะแล้ว ยังไม่ดีขึ้น (คือผู้ป่วยมีน้ำหนักลดน้อยกว่า 1.5 กก.ต่อสัปดาห์) อาจจะต้องพิจารณาเจาะท้องเอาน้ำออก ถ้าเอาออกไม่เกิน 5 ลิตรต่อครั้ง มักไม่มีปัญหา แต่ถ้าเอาน้ำออกระหว่าง 6-8 ลิตรต่อครั้ง จะต้องให้โปรตีน albumin 6-8 กรัมต่อน้ำ 1 ลิตรที่เอาออก

    นพ.พินิจ กุลละวณิชย์

    หนังสือพิมพ์แนวหน้า ฉบับที่ 12014 วันอาทิตย์ที่ 9 มีนาคม 2557 หน้า 3


    ความคิดเห็นที่ 11  จากคุณ “สปอยล์ร้อยแรงม้า”     8 ส.ค. 2557 03:12 น.

    ส่วน ascites จาก non-portal hypertension

    ส่วนใหญ่ เป็นปัญหาของ peritoneal disease ได้แก่

    - การติดเชื้อของ peritoneum (เช่น tuberculous peritonitis)

    - inflammatory process ที่ involve peritoneum (เช่น serositis จาก systemic lupus erythrematosus)

    - metastasis มาที่ peritoneum หรือ carcinomatosis peritonii

    ภาวะเหล่านี้ ทำให้มี peritoneal inflammation, irritation และ exudation

    นอกจากนี้ กรณีของ malignancy-related ascites พยาธิกำเนิดของ ascites ยังเกิดจาก มี tumor มาอุดตันที่ lymphatic drainage system
    และตัว tumor ได้สร้าง cytokines หลายตัว ทำให้มีการเพิ่มขึ้นของ permeability ของ endothelial cells ที่ peritoneal surface

    “เข้าใจตรงกันนะ นักเรียน”


    ความคิดเห็นที่ 10  จากคุณ “สปอยล์ร้อยแรงม้า”     8 ส.ค. 2557 03:02 น.

    ซึ่งถ้าหากได้จากการติดเชื้อครั้งนี้ แป้บเดียว เกิดท้องมาน ก็ไม่สมจริงอย่างเเรง.....

    อีกอย่าง คนเป็นไวรัสตับ แล้วมีท้องมาน ไม่ดูดีขนาดนี้เเน่ๆ -___-"

    เพราะโดยปกติ ท้องมานเป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบได้บ่อยในผู้ป่วยตับแข็ง
    การมีท้องมาน แสดงถึงตับแข็งได้เข้าสู่ระยะลุกลาม
    ซึ่งหากปล่อยให้ภาวะโรคดำเนินต่อไป จะเกิดภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ เช่น การติดเชื้อ เลือดออกในทางเดินอาหาร อาการสมองจากโรคตับ และอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้


    ความคิดเห็นที่ 9  จากคุณ “สปอยล์ร้อยแรงม้า”     8 ส.ค. 2557 02:53 น.

    ที่มาของชื่อเรื่อง...

    “ฝากไว้..ในกายเธอ”

    คือ

    ฝาก hepatitis B virus ไว้ ในกายเธอ
    ผ่านทางเลือดขณะมีเพศสัมพันธ์

    ///ตึ่งโป๊ะ!!!


    ความคิดเห็นที่ 8  จากคุณ “สปอยล์ร้อยแรงม้า”     8 ส.ค. 2557 02:40 น.

    จุดหักมุมที่อึ้งกิมกี่!!!

    คือ...ไม่หน้าด้านพอจะคิดว่า จะกล้าเล่นมุก “ท้องมาน”

    --"


    << 1 2 3 4 5 6  7  8 9 >>