ขอเชิญชาวหนังดีทุกคนมาวิพากษ์วิจารณ์หนังเรื่องนี้กันใครไปดูมาแล้ว เป็นยังไงหนุกไม่หนุกบอกกันมาเลย
*** หากจะสปอยล์เนื้อหาบางส่วนของเรื่อง แนะนำให้เตือนสมาชิกคนอื่นๆ ล่วงหน้า
โดยให้สมาชิกคนอื่นได้เห็นคำว่า สปอยล์ หรือ Spoil กันอย่างชัดเจนด้วยนะจ๊ะ
ความคิดเห็นที่ 31 จากคุณ Make Economics Real. 11 ก.ค. 2557 15:03 น.
แม้ว่าการศึกษาวิจัยทั้งสองชิ้นที่นำมา อาจไม่ได้ตอบคำถามตรงๆ ว่าเนื้อหาของละครมีผลต่อความรุนแรงแน่ๆ แต่ก็ได้ชี้ให้เห็นว่า “รายการทีวีและละครมีผลต่อทัศนคติและวิถีการใช้ชีวิตของผู้คนในสังคมอย่างมีนัยสำคัญ” ดังนั้น “ละครจึงไม่ใช่มีบทบาทแค่เป็นกระจกที่สะท้อนสังคม” จนเรทติ้งสูงและทำกำไรจากค่าโฆษณามากมายเท่านั้น แต่กลับเป็น “ตะเกียงที่ชี้นำสังคมให้เปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ละครนำเสนอ” ด้วย อย่างไรก็ดี อาจจะโทษแค่ผู้จัดละครคงไม่ได้ เพราะสังคมเองก็ “ชื่นชม” “สนุกสนาน”และคิดว่า “ไม่เป็นไร” ทุกวันนี้เราก็เห็นคลิปเด็กตบกันจนรู้สึกธรรมดาสามัญไปแล้ว ขณะที่บางประเทศ เขาก็รับไม่ได้ ไม่แตกต่างไปจากการที่เราเห็นบางประเทศกินเนื้อสุนัขเป็นเรื่องรับไม่ได้ ทั้งๆ ที่คนในประเทศของเขาไม่รู้สึกอะไร ที่น่าเสียดายคือ เรากำลังทำเหมือนกรณีของประเทศอินเดียในบทความวิจัยแรก เพียงแต่เขาใช้รายการทีวีเพื่อลดความรุนแรงของสังคม แต่เราไม่ได้ทำแบบนั้น ... ก็เท่านั้นเอง.
ความคิดเห็นที่ 30 จากคุณ Make Economics Real. 11 ก.ค. 2557 14:57 น.
ละคร “สะท้อน” หรือ “ชี้นำ” สังคมกันแน่? ………. ข้อถกเถียงระหว่างกระทรวงวัฒนธรรมกับผู้จัดละครทีวีที่ว่าละครมีหรือไม่มีผลกระทบต่อสังคม(อย่างมีนัยสำคัญ)กันแน่ และมากหรือน้อยแค่ไหนกัน ทางเศรษฐศาสตร์เองก็สนใจเรื่องนี้และพยายามให้คำตอบเช่นกัน ………. หลายคนอาจจะตั้งคำถามอยู่เสมอว่าละครก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในสังคมหรือไม่ จุดเริ่มต้นก็น่าจะตั้งแต่ละครเรื่อง “ระบำดวงดาว” ที่มีตัวเอกคือ “หวานหวาน” ตามด้วย “ดอกส้มสีทอง” ที่ตัวเอกคือ “เรยา” และล่าสุด ละครเรื่อง “แรงเงา” ในบทของ “มุนินทร์/มุตตา” ที่ในบท(รุน)แรงได้ใจคนไทยไปทั้งประเทศ ………. กระทรวงวัฒนธรรม หรือหน่วยงานทางด้านนิเทศศาสตร์จำนวนมาก ออกมาต่อต้าน/คัดค้านบทละครเรื่องเหล่านี้ตลอดมา เพราะเชื่อว่าความรุนแรงในละครจะส่งให้คนในสังคมมีความรุนแรงมากขึ้น หรืออย่างน้อยก็ “รับได้” กับความรุนแรงมากขึ้น ขณะที่ผู้จัดละครและดารานักแสดงก็ออกมาโต้แย้งว่า “ไม่จริ๊ง ไม่จริง เพราะประชาชนแยกแยะได้ค่ะ” และพวกเขาแค่ทำละครอย่างที่สังคมต้องการเท่านั้น ที่สำคัญดูได้จากยอดเรทติ้งที่พุ่งกระฉูด หยุดไม่อยู่เลยทีเดียว ………. ในเชิงปรัชญา คำโต้เถียงของคนทั้งสองกลุ่มอยู่ภายใต้ความเชื่อที่ว่า ละครเป็น “ตะเกียง” ทำหน้าที่ให้ความสว่างเพื่อชี้นำสังคม หรือละครเป็น “กระจก” ทำหน้าที่เพียงสะท้อนความจริงของสังคมเท่านั้น แล้วปรัชญาไหนน่าจะถูกต้อง คำตอบนี้อาจไม่ง่ายนัก ด้วยปัญหาทางเศรษฐมิติ ๒ ประการ ๑) ความรุนแรงมีอยู่แล้วในสังคมไทย เมื่อเนื้อหาของละครมีความรุนแรง และเกิดความรุนแรงขึ้นจริงในสังคม จะบอกได้อย่างไรว่าความรุนแรงนั้นมันจะเกิดอยู่แล้ว (แต่มีละครมาเป็นข้ออ้าง) หรือมันเกิดจากละครจริงๆ ๒) ผลกระทบของละครเป็นผลอาจเกิดขึ้นในระยะยาว แต่เนื่องจากละครที่มีความรุนแรงไม่ได้ถูกฉายอย่างต่อเนื่อง (มีเรื่องอื่นๆ ฉายคั่นในช่วงต่อจากเรื่องหนึ่งไปยังอีกเรื่องหนึ่ง) หากเกิดความรุนแรงขึ้นในอนาคต จะบอกได้อย่างไรว่าเป็นผลจากละครที่มีความรุนแรง ………. การตอบคำถามนี้ต้องอาศัยสถานการณ์พิเศษของบางพื้นที่ Jensen and Oster (2009) ทำการศึกษาผลกระทบของการดูโทรทัศน์ที่มีต่อสังคมในประเทศอินเดีย โดยมุ่งไปที่ความรุนแรงต่อผู้หญิง และทัศนคติต่อการมีบุตรชาย ซึ่งเป็นปัญหาใหญ่ของสังคมอินเดีย Sen (1992) ชี้ให้เห็นว่า ในแต่ละปี มีเด็กหญิงชาวอินเดียที่ควรจะได้เกิดแต่ไม่ได้เกิดประมาณ 41 ล้านคน อันเนื่องมาจากการปฏิบัติอย่างไม่ถูกต้องของแม่ จากทัศนคติของสังคมที่อยากได้ลูกชาย และหากเกิดมาแล้ว ก็ยังได้รับการปฏิบัติอย่างไม่เท่าเทียมทั้งการได้รับอาหาร สาธารณสุข และการศึกษา ………. โทรทัศน์เข้าสู่อินเดียเป็นครั้งแรกในปี 1959 และมีรายการอินเดียให้รับชมตลอดมา ต่อมา พื้นที่ชนบทของอินเดียก็เริ่มมี “เคเบิ้ลทีวี” แม้อาจจะดูเป็นเรื่องเล็กๆ แต่เคเบิ้ลทีวีทำให้ชาวอินเดียในเมืองได้เห็นวัฒนธรรมที่แตกต่างออกไป เพราะรายการจำนวนหนึ่งเป็นรายการของตะวันตก ทำให้ชาวอินเดียได้เห็นความเท่าเทียมกันระหว่างเพศ และอีกด้านของความเลวร้ายจากความรุนแรง ………. Jensen and Oster (2009) ทำการศึกษาตัวอย่าง 2,700 ครัวเรือนในช่วงปี 2001, 2002 และ 2003 ใน 4 เมือง (Bihar, Goa, Haryana และ Tamil Nadu) กับเมืองหลวงคือ Delhi สาเหตุที่พิจารณาการเข้ามาของเคเบิ้ลทีวีก็เพราะ***ส่วนของบ้านที่ดูเคเบิ้ลทีวีในชุมชนหนึ่งๆ อยู่ที่ร้อยละ 40-60 ทำให้สามารถเปรียบเทียบบ้านที่ดู(ได้รับผล)กับไม่ได้ดู(ไม่ได้รับผล)เคเบิ้ลทีวีในชุมชน(ที่มีวัฒนธรรม)เดียวกันได้ และเมื่อบ้านใดติดเคเบิ้ลแล้วก็มีแนวโน้มจะดูรายการทีวีจากเคเบิ้ลมากกว่ารายการจากช่องทีวีปกติด้วย ………. จาก “ค่าสถิติเชิงพรรณาของความรุนแรงและทัศนคติต่อการมีลูกชายของผุ้หญิงชาวอินเดีย” แสดงให้เห็นว่า ผู้หญิงประมาณร้อยละ 30 “รับได้”กับความรุนแรงที่ถูกกระทำโดยผู้ชาย หากไม่ปฏิบัติตามครรลองของสังคม เช่น ดูแลลูกได้ไม่ดี ไม่แสดงความเคารพสามี ออกไปข้างนอกโดยไม่ได้บอกสามีก่อน หรือแม้แต่ครอบครัวของผู้หญิงไม่ให้เงินใช้ เป็นต้น รวมทั้ง ผู้หญิงที่ต้องการมีลูกประมาณร้อยละ 55 ต้องการลูกผู้ชาย ขณะที่เพียงร้อยละ 13 เท่านั้นที่ต้องการลูกผู้หญิง ………. ความสัมพันธ์ระหว่างเคเบิ้ลทีวีที่มีผลต่อความรุนแรง และทัศนคติที่ต้องการลูกชาย เปรียบเทียบระหว่างบ้านที่ติดและไม่ติดเคเบิ้ลในชุมชนเดียวกัน แสดงให้เห็นใน “ผลการประมาณค่าสมการความสัมพันธ์ระหว่างเคเบิ้ลทีวีที่มีผลต่อความรุนแรง และทัศนคติที่ต้องการลูกชาย” พบว่า เคเบิ้ลทีวีทำให้ความรุนแรงในครอบครัวลดลงประมาณ 3% ต่อปีอย่างมีนัยสำคัญ (= 0.1609/6×100) และทำให้ทัศนคติที่ต้องการลูกชายลดลงอย่างมีนัยสำคัญ 8.82% ต่อปีเช่นกัน แม้ว่าจะเป็นตัวเลขไม่มาก แต่ก็ลดลงอย่างชัดเจน และเมื่อเวลาผ่านไป สังคมก็จะค่อยๆ ดีขึ้นตามลำดับ ………. มาถึงตรงนี้อาจมีข้อโต้แย้งว่า เคเบิ้ลทีวีไม่ได้หมายความเช่นเดียวกับละคร เพราะรวมไปถึงสารคดี ข่าวและรายการอื่นๆ ด้วย (แต่ที่จริง คนส่วนใหญ่ก็ดูละครมากกว่ารายการอื่นแน่ๆ) เนื่องด้วยความจำกัดของข้อมูลและสถานการณ์พิเศษที่จะวิเคราะห์เรื่องนี้ทำให้ไม่มีการศึกษาผลกระทบของละครที่มีต่อความรุนแรงโดยตรง แต่ก็มีงานศึกษาที่ยังคงให้ประโยชน์กับคำตอบเรื่องนี้ได้เช่นกัน ………. Ferrara, Chong and Duryea (2008) ทำการศึกษาเรื่องผลกระทบของละครช่วง Prime Time (พูดง่ายๆ ก็คือเหมือนละครหลังข่าวบ้านเรานี่เอง) ที่มีต่ออัตราการเกิดในประเทศบราซิล ซึ่งดูเหมือนจะไม่เกี่ยวกันเอามากๆ ………. ในช่วงประมาณปี 1980 Rede Globo ได้นำเอาละครจากโปรตุเกสเข้ามาฉายในบราซิล (ทั้งสองประเทศพูดภาษาเดียวกัน) และได้รับความนิยมอย่างล้นหลามจนกระทั่ง Rede Globo อาจเรียกได้ว่าเป็นผู้ผูกขาดละครหลังข่าวเพราะมีคนดูประมาณ 80-90% เลยทีเดียว โดยละครที่มาจากโปรตุเกส ซึ่งเป็นประเทศในยุโรป มักจะแสดงถึงความเป็นครอบครัวเล็ก แตกต่างจากสภาพสังคมของบราซิลโดยสิ้นเชิงที่เป็นครอบครัวใหญ่ มีลูกมาก ที่สำคัญ ละครจากยุโรปมักจะมีลักษณะที่ว่า ครอบครัวชนชั้นกลางถึงรวยจะเป็นครอบครัวเล็กและมีความสุข ขณะที่ครอบครัวใหญ่ที่มีลูกมากจะยากจนและไม่มีความสุข ………. ข้อค้นพบของ Ferrara, Chong and Duryea (2008) ไม่ต่างไปจาก Jensen and Oster (2009) ที่ว่าละครหลังข่าวมีผลทำให้อัตราการมีบุตรลดลงอย่างมีนัยสำคัญ แสดงให้เห็นใน “ผลการประมาณค่าสมการความสัมพันธ์ระหว่างละครหลังข่าวกับอัตราการมีบุตร” ที่น่าสนใจก็คือ ละครหลังข่าวส่งให้อัตราการมีบุตรลดลงเร็วกว่าผลที่เกิดจากการให้การศึกษาที่ว่ามีลูกมากจะยากจนเสียอีก. ……….
ความคิดเห็นที่ 29 จากคุณ ความตายคือทางออก? 11 ก.ค. 2557 14:41 น.
ละครหรือภาพยนตร์อาจจบลงไปแล้ว แต่เรื่องราวไม่เคยจบลง ความตายเท่านั้นที่เป็นบทสรุปของตัวละคร และทางออกของปัญหาไม่ว่าจะเป็นผู้ร้ายหรือผู้ดี เราควรฉุกคิดกันบ้างไหมว่า นี่หรือเปล่า? ที่ทำให้มีข่าวคนจบปัญหาด้วยการฆ่าตัวตายทุกๆวันในสังคมไทยสมัยนี้ และเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้คนซึ่งเกลียดชังกัน มีความคิดเห็นแตกต่างกัน ต้องฆ่าแกงกัน และเอากันให้ถึงตาย ราวกับมีศาลเตี้ยอยู่ทุกหนแห่งในสังคม!!!
ความคิดเห็นที่ 28 จากคุณ นี่หรือเมืองพุทธ?? 11 ก.ค. 2557 14:31 น.
“การถูกล่วงละเมิดทางเพศในละครและภาพยนตร์ไทย” ไม่ได้แสดงถึง “ความรักนวลสงวนตัวของเพศหญิง” แต่มัน คือ “การกดขี่ทางเพศอย่างรุนแรง” ที่กลับได้รับ “การยอมรับ”“สมยอม” จาก “คน” ใน “สังคมไทย”
ความคิดเห็นที่ 27 จากคุณ โลกนี้สีเทา 11 ก.ค. 2557 14:28 น.
ละครและภาพยนตร์ คือภาพจำลองความเป็นจริงของโลกของสังคมนั้นๆ แต่ละครไทยภาพยนตร์ไทยคือโลกสีขาวกับดำ ทำให้คนไทยที่ไม่ฉลาด เด็กหรือผู้ใหญ่ที่ขาดวิจารณญาณ ไม่เคยรู้จักสีเทา ไม่เคยรับรู้ว่า ชีวิตจริง เทา มากกว่า ขาวดำ