ขอเชิญชาวหนังดีทุกคนมาวิพากษ์วิจารณ์หนังเรื่องนี้กันใครไปดูมาแล้ว เป็นยังไงหนุกไม่หนุกบอกกันมาเลย
*** หากจะสปอยล์เนื้อหาบางส่วนของเรื่อง แนะนำให้เตือนสมาชิกคนอื่นๆ ล่วงหน้า
โดยให้สมาชิกคนอื่นได้เห็นคำว่า สปอยล์ หรือ Spoil กันอย่างชัดเจนด้วยนะจ๊ะ
ความคิดเห็นที่ 36 จากคุณ ทาส “รัก” นักข่มขืน 11 ก.ค. 2557 15:31 น.
ความรุนแรง คือ การกระทำให้เกิดอันตรายต่อร่างกาย และการทำให้เกิดความทุกข์ทางจิตใจ หรือการกระทำทางเพศ หรือการทอดทิ้งปล่อยปละละเลย โดยเฉพาะกรณีความรุนแรงต่อสตรีนั้น มักเป็นการที่ผู้กระทำใช้อำนาจ อาวุโส หรือเงินตราที่เหนือกว่าผู้ถูกกระทำ ซึ่งต้องพึ่งพิงทางเศรษฐกิจ สังคม หรือการที่ผู้ถูกกระทำถูกกดดันจากความคาดหวังของสังคม ครอบครัว ศีลธรรมความกตัญญู เมื่อกล่าวถึงความรุนแรงต่อเด็กและสตรี ภาพที่คนส่วนใหญ่มักจะนึกถึง คือเหตุการณ์ทำร้ายร่างกาย หรือการข่มขืน แต่ความจริงแล้ว ปัญหาความรุนแรง ไม่ได้มีเฉพาะการทำร้ายร่างกายเท่านั้น ยังพบว่า มีรูปแบบการใช้ความรุนแรงอีกหลายรูปแบบ เช่น การทำความรุนแรงทางวาจา ตำหนิ ดุด่า สบประมาท ความรุนแรงในที่ทำงาน การกักขังหน่วงเหนี่ยวอิสรภาพ หรือการใช้ความรุนแรงต่อจิตใจ อารมณ์ เป็นต้น ด้วยความเชื่อและค่านิยม เรื่องบทบาททางเพศ ที่ฝังรากลึกมายาวนานในสังคมไทย ทำให้เด็กและสตรีมีคุณค่าน้อยกว่าชาย ความเชื่อที่ว่าภรรยาและบุตรเป็นสมบัติของสามี ทำให้ต้องถูกทำร้าย ทุบตี และต้องอดทนอยู่กับสถานการณ์นั้น ๆ ด้วยเจตคติทางสังคม ที่ให้ความสำคัญกับเพศชายในฐานะผู้นำ ทำให้เกิดแนวคิดที่ว่าผู้ชายมีอำนาจเหนือผู้หญิง และด้วยขนบธรรมเนียนประเพณี ที่หญิงไทย ถูกอบรมเลี้ยงดูให้เป็นคนนิ่มนวล สงบเสงี่ยม เจียมตัว ไม่หยาบกระด้าง ต้องเอาใจใส่และปรนนิบัติสามี ซึ่งเปรียบเทียบเหมือนช้างเท้าหน้า ภรรยาต้องเป็นผู้ตาม เมื่อถูกกระทำรุนแรง ผู้หญิงเองก็ไม่อาจและไม่ต้องการเปิดเผยให้คนภายนอกได้รับรู้ เนื่องจากอับอาย และถือว่าความรุนแรงในครอบครัวเป็นเรื่อง“ส่วนตัว” ผลกระทบต่อผู้ถูกกระทำ มักทำให้เกิดความบาดเจ็บทั้งร่างกายและจิตใจ พิการ หรือถึงแก่ชีวิต เกิดปัญหาสุขภาพจิต มีพฤติกรรมก้าวร้าว เกิดภาวะการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ การติดเชื้อ HIV และโรคทางเพศสัมพันธ์ ส่งผลกระทบต่อครอบครัว เป็นเหตุให้ครอบครัวไม่สงบสุข ความสัมพันธ์ ความไว้วางใจในครอบครัวถูกทำลาย ก่อให้เกิดความไม่ปลอดภัยในสังคม นอกจากนี้ ยังพบว่า ผู้กระทำความรุนแรง ส่วนใหญ่ มักเป็นคนที่อยู่ในครอบครัว หรือเป็นคนรู้จักกับผู้ถูกกระทำ และสถิติความรุนแรงต่อสตรีมีแนวโน้นเพิ่มมากขึ้น จากศูนย์พึ่งได้ กระทรวงสาธารณสุข พบว่า สถิติการถูกทำร้ายในเด็กและสตรีที่มารับบริการที่ศูนย์พึ่งได้ มีจำนวน 14,382 ราย เฉลี่ยวันละ 39 ราย และจากฐานข้อมูลความรุนแรงของสำนักงานกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว พบว่า มีสตรีถูกทำร้าย 3,968 คน เป็นกรณีการทำร้ายร่างกาย จำนวน 1,682 คน ข่มขืนจำนวน 1,295 คน อย่างไรก็ตาม จากจำนวนที่รายงานนี้ เป็นเพียงส่วนหนึ่งของปัญหาที่เกิดขึ้นจริง ทั้งนี้ เพราะปัญหาส่วนใหญ่ ถูกปิดบัง ซ่อนเร้น และไม่เปิดเผย อีกเป็นจำนวนมาก.
ความคิดเห็นที่ 35 จากคุณ ความรุนแรงคือทางออก 11 ก.ค. 2557 15:27 น.
นายมนตรี สินทวีชัย หรือ ครูหยุ่น เลขาธิการมูลนิธิคุ้มครองเด็ก กล่าวว่า ปัจจุบันนี้ มีความรุนแรงเกลื่อนถนน เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นถือเป็นสัญญาณบางอย่างที่น่ากลัวมาก ซึ่งเกมและเฟซบุ๊กก็อาจจะมีส่วน แต่สาเหตุ น่าจะเกิดจากหลายสิ่งประกอบกัน ไม่ว่าจะเป็นการเลี้ยงดูเด็กของผู้ปกครอง ซึ่งต้องไปดูว่าครอบครัวนี้เลี้ยงลูกโดยใช้อำนาจ บังคับ หรือเลี้ยงแบบปล่อยปละละเลย ไม่เตือนไม่สอน อยากให้รณรงค์เรื่องการไม่ใช้ความรุนแรงในการแก้ปัญหา ไม่เฉพาะในระดับวิถีชีวิต หรือปัจเจก แต่เป็นของสังคม ควรปลูกฝังเรื่องนี้ตั้งแต่ในโรงเรียนด้วยซ้ำไป และควรจัดให้มีหน่วยงานหรือการบริการที่เป็นที่พึ่งให้กับเด็กและคนในครอบครัวมากกว่านี้ รัฐควรสนับสนุนให้มีหน่วยงานที่ดูแลเรื่องพวกนี้ และต้องกระจายให้สามารถเข้าถึงได้ง่าย นอกจากนี้ความรู้ใหม่ๆ เกี่ยวกับการเลี้ยงดูลูก ต้องได้รับการเผยแพร่ ประชาสัมพันธ์มากกว่านี้ ซึ่งปัจจุบันเทคโนโลยีก็ก้าวหน้าไปมากน่าจะช่วยสนับสนุนให้การเผยแพร่ทำได้ง่ายขึ้น "ผมคิดว่า ความรุนแรงค่อนข้างเกลื่อนเกินไปในสังคม เด็กมีโอกาสพบเห็นความรุนแรงได้รอบตัว ไม่ว่าจะเป็นความรุนแรงจากสื่อ หรือผู้คนที่ทะเลาะกัน ตีกันให้เด็กเห็น รวมถึงการแก้ปัญหาด้วยความรุนแรงที่ปรากฏทั่วไป ไม่ว่าจะในระดับวิถีชีวิต สังคม หรือการเมืองก็ตาม นอกจากนี้ ปัญหาเรื่องอาวุธหรือสิ่งของแทนอาวุธที่มีอยู่เกลื่อนในสังคม ก็เป็นเรื่องที่ต้องจัดการอย่างจริงจัง" นายมนตรีกล่าว
ความคิดเห็นที่ 34 จากคุณ I DO WHAT I WATCH 11 ก.ค. 2557 15:24 น.
เมื่อวันที่ 1 พ.ย. 2555 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทคบางนา มีการจัดงานมหกรรมรวมพลคนรักสุขภาพประจำปี 2555 ซึ่งภายในงานดังกล่าว ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์ แถลงข่าวเรื่องภัยร้ายต่อเด็กจากสื่อทีวี สื่อไอที โดยมี นพ. สมศักดิ์ โล่ห์เลขา ประธานราชวิทยาลัยกุมารแพทย์ และนพ.อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์ หัวหน้าศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ ร.พ.รามาธิบดี ร่วมแถลงข่าว นพ.อดิศักดิ์กล่าวว่า ที่ผ่านมาพบว่าเกิดเหตุร้ายขึ้นกับเด็ก อันมีสาเหตุมาจากอิทธิพลของสื่อทีวีและอินเตอร์เน็ต มีกรณีซึ่งเป็นเด็กหญิงอายุ 8 ขวบ อยู่ในกรุงเทพฯ ถูกส่งเข้ามารับการรักษาตัวที่โรงพยาบาลรามาธิบดีเมื่อวันที่ 25 ต.ค. 2555 ด้วยอาการหมดสติ สมองขาดออกซิเจน จากการสอบถามพ่อของเด็ก เล่าให้ฟังว่า เด็กไปเล่นแขวนคอกับเพื่อน โดยนำเศษผ้าและเชือกมาผูกเป็นห่วงกับต้นหูกวาง ห่วงอยู่สูงจากพื้น 120 เซนติเมตร และเด็กปีนปากโอ่งที่สูงประมาณ 60 เซนติเมตร พร้อมทั้งเอาศีรษะไปแขวนกับห่วงทำท่าแขวนคอ ก่อนขาทั้งสองพลัดตกลงไปในโอ่งโดยแตะไม่ถึงพื้น ทำให้เด็กถูกแขวนคอนานกว่า 10 นาที เพื่อนที่เล่นอยู่ใกล้ๆ คิดว่าเด็กเล่นอยู่จึงไม่ได้สนใจอะไร จนเด็กหมดสติจึงวิ่งไปตามพ่อของเด็กมาช่วยนำส่งโรงพยาบาล นพ.อดิศักดิ์กล่าวต่อไปว่า จากการสอบถามพ่อของเด็กบอกว่า ก่อนที่จะเกิดเหตุการณ์ดังกล่าวเด็กได้ดูรายการทีวีมีภาพการแขวนคอตายถึง 2 รายการในช่วงสัปดาห์เดียว ได้แก่ รายการคนอวดผี ซึ่งออกอากาศทางช่อง 5 เมื่อวันที่ 24 ต.ค. และละครเรื่องแรงเงา ตอนที่ออกอากาศวันที่ 22 ต.ค. ซึ่งในวันดังกล่าวเป็นตอนที่"มุตตา"ตัวละครในเรื่องผูกคอตายพอดี นพ.อดิศักดิ์กล่าวต่อไปว่า สำหรับอาการของเด็กหญิงรายดังกล่าวคาดว่า วันที่ 1 พ.ย. ออกจากห้องไอซียูได้ โดยนำเครื่องช่วยหายใจออกแล้ว แต่ที่ยังน่าห่วงอยู่คือ เนื่องจากสมองของเด็กขาดออกซิเจนเป็นเวลานานกว่า 10 นาที เมื่อเด็กหายดีแล้วจะเกิดผลกระทบต่อสติปัญญา และสภาพร่างกายของเด็กแน่นอน ไม่มากก็น้อย แต่ทั้งนี้ต้องรอประเมินสภาพสมองของเด็กก่อนถึงจะสามารถบอกได้ ซึ่งหลังจากนี้เด็กจะต้องรักษาอาการอยู่ที่โรงพยาบาลประมาณ 1 เดือน และหลังจากนั้นประมาณ 5- 6 เดือนจึงจะสามารถประเมินสภาพสมองของเด็กได้
ความคิดเห็นที่ 33 จากคุณ เด็กฉลาด ชาติเจริญ 11 ก.ค. 2557 15:08 น.
เพราะคนไทยส่วนใหญ่ เป็นผู้เจริญแล้ว ทางด้านปัญญา จริยธรรม และจิตใจ สามารถ“ใช้วิจารณญาณในการรับชม”แยกแยะได้ว่าการแสดงกับชีวิตจริงเป็นยังใง ประเทศไทยจึงเจริญได้เหมือนปัจจุบันนี้?
ความคิดเห็นที่ 32 จากคุณ Make Economics Real. 11 ก.ค. 2557 15:04 น.
ที่มา: – Robert Jensen and Emily Oster, The Power of TV: Cable Television and Women’s Status in India, The Quarterly Journal of Economics (2009) 124(3): 1057-1094. – Ferrara, Eliana La, Chong, Alberto and Duryea, Suzanne, Soap Operas and Fertility: Evidence from Brazil (June 2008). IDB Working Paper No. 533.