ข่าว > ข่าวหนังทั้งหมด > วิจารณ์หนังใหม่

ทาสรักอสูร

10 ก.ค. 2557 09:26 น. | เปิดอ่าน 1809 | แสดงความคิดเห็น
แชร์หน้านี้ แชร์หน้านี้
 

 

ขอเชิญชาวหนังดีทุกคนมาวิพากษ์วิจารณ์หนังเรื่องนี้กันใครไปดูมาแล้ว เป็นยังไงหนุกไม่หนุกบอกกันมาเลย

*** หากจะสปอยล์เนื้อหาบางส่วนของเรื่อง แนะนำให้เตือนสมาชิกคนอื่นๆ ล่วงหน้า
โดยให้สมาชิกคนอื่นได้เห็นคำว่า
สปอยล์ หรือ Spoil กันอย่างชัดเจนด้วยนะจ๊ะ

: ทาสรักอสูร

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • แซ่บเว่อร์!! “อุ้ม-ลักขณา” จัดเต็มลีลาเซ็กซี่ เต้นรูดเสายั่ว “นายหัวหม่ำ” ใน “ทาสรักอสูร”
  • “นายหัวหม่ำ” โชว์ลูกโหดปกป้องทาสรัก “พิ้งกี้” อัด “บ่าววี-หลวงไก่” น็อกคากอง ใน “ทาสรักอสูร”
  • “หม่ำ” ควงลูกสุดเลิพ “น้องเอ็ม นำทีมคู่รักเช็คความโหดฮา แบบภาพยนตร์ "ทาสรักอสูร"
  • “ทาสรักอสูร” ชวนคู่รักฮาร์ดคอร์ เช็คความโหดฮา ในกิจกรรม “รักหฤโหด โคตรหฤเลิพ แบบทาสรักอสูร กับ FM One”
  • การกลับมาอีกครั้งของดาวร้ายหน้าสวย อ๋อม-สกาวใจ ที่จะทั้งร้าย-ฮา-สวย ในภาพยนตร์รักหฤโหด โคตรมหาฮา ทาสรักอสูร
  •  
     
     
    ร่วมแสดงความคิดเห็น
     
    ชื่อ :
     
    ความคิดเห็น :
     
     
     
     

    ความคิดเห็นที่ 6  จากคุณ ฉันไม่ใช่นางเอก     11 ก.ค. 2557 03:22 น.

    ความรุนแรง คือ การกระทำให้เกิดอันตรายต่อร่างกาย และการทำให้เกิดความทุกข์ทางจิตใจ หรือการกระทำทางเพศ หรือการทอดทิ้งปล่อยปละละเลย โดยเฉพาะกรณีความรุนแรงต่อสตรีนั้น มักเป็นการที่ผู้กระทำใช้อำนาจ อาวุโส หรือเงินตราที่เหนือกว่าผู้ถูกกระทำ ซึ่งต้องพึ่งพิงทางเศรษฐกิจ สังคม หรือการที่ผู้ถูกกระทำถูกกดดันจากความคาดหวังของสังคม ครอบครัว ศีลธรรมความกตัญญู เมื่อกล่าวถึงความรุนแรงต่อเด็กและสตรี ภาพที่คนส่วนใหญ่มักจะนึกถึง คือเหตุการณ์ทำร้ายร่างกาย หรือการข่มขืน แต่ความจริงแล้ว ปัญหาความรุนแรง ไม่ได้มีเฉพาะการทำร้ายร่างกายเท่านั้น ยังพบว่า มีรูปแบบการใช้ความรุนแรงอีกหลายรูปแบบ เช่น การทำความรุนแรงทางวาจา ตำหนิ ดุด่า สบประมาท ความรุนแรงในที่ทำงาน การกักขังหน่วงเหนี่ยวอิสรภาพ หรือการใช้ความรุนแรงต่อจิตใจ อารมณ์ เป็นต้น ด้วยความเชื่อและค่านิยม เรื่องบทบาททางเพศ ที่ฝังรากลึกมายาวนานในสังคมไทย ทำให้เด็กและสตรีมีคุณค่าน้อยกว่าชาย ความเชื่อที่ว่าภรรยาและบุตรเป็นสมบัติของสามี ทำให้ต้องถูกทำร้าย ทุบตี และต้องอดทนอยู่กับสถานการณ์นั้น ๆ ด้วยเจตคติทางสังคม ที่ให้ความสำคัญกับเพศชายในฐานะผู้นำ ทำให้เกิดแนวคิดที่ว่าผู้ชายมีอำนาจเหนือผู้หญิง และด้วยขนบธรรมเนียนประเพณี ที่หญิงไทย ถูกอบรมเลี้ยงดูให้เป็นคนนิ่มนวล สงบเสงี่ยม เจียมตัว ไม่หยาบกระด้าง ต้องเอาใจใส่และปรนนิบัติสามี ซึ่งเปรียบเทียบเหมือนช้างเท้าหน้า ภรรยาต้องเป็นผู้ตาม เมื่อถูกกระทำรุนแรง ผู้หญิงเองก็ไม่อาจและไม่ต้องการเปิดเผยให้คนภายนอกได้รับรู้ เนื่องจากอับอาย และถือว่าความรุนแรงในครอบครัวเป็นเรื่อง“ส่วนตัว” ผลกระทบต่อผู้ถูกกระทำ มักทำให้เกิดความบาดเจ็บทั้งร่างกายและจิตใจ พิการ หรือถึงแก่ชีวิต เกิดปัญหาสุขภาพจิต มีพฤติกรรมก้าวร้าว เกิดภาวะการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ การติดเชื้อ HIV และโรคทางเพศสัมพันธ์ ส่งผลกระทบต่อครอบครัว เป็นเหตุให้ครอบครัวไม่สงบสุข ความสัมพันธ์ ความไว้วางใจในครอบครัวถูกทำลาย ก่อให้เกิดความไม่ปลอดภัยในสังคม นอกจากนี้ ยังพบว่า ผู้กระทำความรุนแรง ส่วนใหญ่ มักเป็นคนที่อยู่ในครอบครัว หรือเป็นคนรู้จักกับผู้ถูกกระทำ และสถิติความรุนแรงต่อสตรีมีแนวโน้นเพิ่มมากขึ้น จากศูนย์พึ่งได้ กระทรวงสาธารณสุข พบว่า สถิติการถูกทำร้ายในเด็กและสตรีที่มารับบริการที่ศูนย์พึ่งได้ มีจำนวน 14,382 ราย เฉลี่ยวันละ 39 ราย และจากฐานข้อมูลความรุนแรงของสำนักงานกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว พบว่า มีสตรีถูกทำร้าย 3,968 คน เป็นกรณีการทำร้ายร่างกาย จำนวน 1,682 คน ข่มขืนจำนวน 1,295 คน อย่างไรก็ตาม จากจำนวนที่รายงานนี้ เป็นเพียงส่วนหนึ่งของปัญหาที่เกิดขึ้นจริง ทั้งนี้ เพราะปัญหาส่วนใหญ่ ถูกปิดบัง ซ่อนเร้น และไม่เปิดเผย อีกเป็นจำนวนมาก.


    ความคิดเห็นที่ 5  จากคุณ ฉันไม่ใช่นางเอก     11 ก.ค. 2557 03:06 น.

    “ความรุนแรงต่อสตรี หมายถึง การกระทำใดๆที่เป็นความรุนแรง ที่เกิดขึ้นจากอคติทางเพศ เป็นผลให้เกิดความทุกข์ทรมานแก่สตรี รวมทั้งการขู่เข็ญ คุกคาม กีดกันเสรีภาพสตรีทั้งในที่สาธารณะและในชีวิตส่วนตัว” (ปฏิญญาสากลว่าด้วยการขจัดความรุนแรงต่อสตรี โดยองค์การสหประชาชาติ) ปัญหาความรุนแรงต่อสตรี เป็นปัญหาที่สั่งสมมาช้านานและเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นในทุกประเทศ ทุกชนชั้น ทุกมิติของสังคม ทั้งในระดับครอบครัว ในชุมชน สถานศึกษา และสถานที่ทำงาน จากรายงานประมาณการ พบว่า 1 ใน 5 ของผู้หญิงทั่วโลกเคยถูกทำร้ายร่างกาย และทำร้ายทางเพศ โดยทุก 15 นาที จะมีผู้หญิงถูกข่มขืน 20 คน ในจำนวนนี้ ร้อยละ 40 เป็นเด็กอายุไม่ถึง 15 ปี.... “ความรุนแรงต่อสตรีนั้น เป็นปัญหาที่เกิดจากความไม่เท่าเทียมกันทางสังคม อันเป็นผลพวงจากโครงสร้างของสังคมในยุคอดีต ซึ่งบุรุษมักเป็นผู้ปกครอง ผู้กำหนด ควบคุมและออกกฎที่ใช้ในสังคม บุรุษได้รับการยกย่องมากกว่าสตรี ในบางสังคมถือว่าผู้หญิงและเด็กเป็นสมบัติหรือกรรมสิทธิ์ของผู้ชาย ผู้หญิงถูกจำกัดสิทธิ ต้องอยู่ในฐานะผู้พึ่งพา ไม่มีสิทธิมีเสียง และตกอยู่ในฐานะจำยอม” สำหรับสถานการณ์ในประเทศไทย พบข้อมูลการกระทำความรุนแรงต่อสตรีเป็นจำนวนมาก และนับวันจะเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะความรุนแรงที่เกิดขึ้นภายในครอบครัว ข้อมูลรายงานของศูนย์พึ่งได้ กระทรวงสาธารณสุข พบเด็กและสตรีถูกทำร้าย 13,550 ราย เฉลี่ย 37 รายต่อวัน โดยกว่าครึ่งหนึ่งของผู้ถูกกระทำเป็นเด็กผู้หญิง และความรุนแรงที่กระทำมากที่สุด ได้แก่ การทำร้ายร่างกายและล่วงละเมิดทางเพศ ถึงร้อยล่ะ 95!!! ความรุนแรงที่ผู้หญิงถูกกระทำนั้น มีทั้งความรุนแรงทางร่างกายและทางเพศ เช่น การด่าทอ ทุบตี ทำร้ายร่างกายให้บาดเจ็บ และข่มขืน โดยผู้กระทำการ คือ สามี บิดา ญาติสนิท หรือคนใกล้ชิด (ซึ่งเป็นผู้ชาย) “จากสถิติที่ผ่านมา ของศูนย์พิทักษ์สิทธิสตรีมูลนิธิเพื่อนหญิง พบว่า บุคคลที่เป็นอันตรายกับผู้หญิงมากที่สุด คือ คนคุ้นเคย (ร้อยละ 84) รองลงมา คือ บุคคลแปลกหน้าหรือไม่รู้จัก (ร้อยละ 11) นอกจากนั้น สถานที่ที่ผู้หญิงถูกกระทำรุนแรง มักเป็นสถานที่ที่ผู้หญิงรู้จักคุ้นเคย หรือเคยไปมาแล้ว (ร้อยละ 44) อาทิ ห้องหรือบ้านของผู้กระทำ บ้านญาติ บ้านของเหยื่อ วัด ที่ทำงาน หรือสถานที่ที่ผู้หญิงมั่นใจว่าไม่น่าเกิดอันตรายกับตนเอง” ความรุนแรงที่เกิดขึ้นกับสตรี ส่งผลกระทบอย่างหนักหน่วงทั้งทางร่างกายและจิตใจ ผู้หญิงจำนวนไม่น้อยต้องบาดเจ็บ สภาพจิตใจหดหู่ เครียด เก็บกด หวาดระแวง ซึมเศร้า หลายรายประสบปัญหาหนัก จนมีความคิดอยากฆ่าตัวตาย เนื่องจากไม่มีที่พึ่งพิง ไม่มีคนคอยดูแลและเยียวยารักษาจิตใจ นอกจากนั้น ความหวาดกลัวต่อความรุนแรง ความสับสนและความอาย ทำให้ผู้หญิงที่ถูกกระทำ มักไม่กล้าบอกกล่าวคนรอบข้าง หรือแจ้งความเพื่อดำเนินคดีกับผู้กระทำการ เมื่อไม่มีผู้รู้เห็น...เมื่อปราศจากความช่วยเหลือ ผู้หญิงส่วนใหญ่ที่เคยถูกกระทำรุนแรง เช่น ถูกทุบตี หรือถูกข่มขืน จึงมักถูกกระทำทารุณซ้ำแล้วซ้ำเล่า...สภาวะอันโหดร้ายที่ผู้หญิงต้องเผชิญนี้ จึงไม่ต่างอะไรกับการตกนรกทั้งเป็น !!! สิทธิในชีวิต อิสระ และความปลอดภัย เป็นสิทธิอันชอบธรรมที่สตรีมีเท่าเทียมบุรุษ จงร่วมมือป้องกันและปราบปรามการกระทำรุนแรงต่อสตรี


    ความคิดเห็นที่ 4  จากคุณ ผมไม่ใช่พระเอก     11 ก.ค. 2557 02:53 น.

    อย่างในภาพยนตร์ไทยบางเรื่อง พ่อพระเอกเขาหยุดแล้ว แต่เจ้าหล่อนก็มิพัก ยังไปพูดยั่ว(โมโห) ปากก็ร้องว่า อย่า แต่มือของน้องนางเอก กลับตะครุบ ล็อคคอพ่อพระเอกเสียแน่นเชียว...นั่นมันอะไรของหล่อน


    ความคิดเห็นที่ 3  จากคุณ ผมไม่ใช่พระเอก     11 ก.ค. 2557 02:47 น.

    อีกทั้ง เมื่อถูกพระเอกข่มขืน ไม่เคยปรากฏว่า นางเอกไทยคนไหนดิ้นเยอะ ดิ้นอย่างมากที่สุด..ก็ดิ้นลงเตียง แม้พระเอกไม่ได้สลัดไปทางเตียง แต่นางเอกก็สามารถกายกรรม หกคะเมน ตีลังกา ม้วนหน้าม้วนหลัง ลอยร่อนลงเตียงได้ และแม้ว่า กว่าพระเอกจะเข้าถึงเนื้อถึงตัวนางเอก เธอสามารถหนีได้สบายๆ เธอก็ไม่หลีกหนี กลับพูดได้เพียง “อย่า เข้ามานะ” ประหนึ่งเชื้อเชิญ รอคอยการชำเรา ที่จะดิ้นเอาเป็นเอาตาย ไม่มีปรากฏในประวัติศาสตร์บันเทิงไทย เสมือนดิ้นไปพอเป็นพิธี เพียงให้รู้ว่า “เดี๊ยนไม่ง่าย” เพื่อมิให้ใครครหาได้ว่า “***


    ความคิดเห็นที่ 2  จากคุณ ผมไม่ใช่พระเอก     11 ก.ค. 2557 02:31 น.

    ละครไทย ภาพยนตร์ไทย มีกฏ ดังนี้... 1. “พระเอกเท่านั้นที่สามารถข่มขืนนางเอกได้” 2. ผู้ร้ายไม่สามารถข่มขืนนางเอกได้ ถึงแม้พยายามจะข่มชืน กำลังจะข่มขืน แต่ก็ไม่มีสิทธิ์ที่จะสำเร็จ ต้องมีเหตุการณ์บันดาลให้ล้มเหลว เพราะพระเอกสามารถข่มขืนได้คนเดียวเท่านั้น (กรุณากลับไปอ่านข้อที่ 1)[แปลว่า ต่อไปนี้ จงภูมิใจเถิด? เพราะถ้าคุณผู้หญิงถูกข่มขืนโดยคุณผู้ชายคนหนึ่ง เขานั่นแหละ คือพระเอกในละครแห่งชีวิตของคุณ?] 3. พระรองสามารถมีสิทธิ์แค่ทำตัวเป็นสุภาพบุรุษ แสนดี แอบรักนางเอกอยู่เงียบๆ ปรารถนาดี และทะนุถนอมนางเอก ได้เพียงเท่านั้น ห้ามพระรองล่วงเกินนางเอกแม้แต่ปลายเล็บเท้าโดยเด็ดขาด ต้องให้พระเอกข่มขืนเท่านั้น (กรุณากลับไปอ่านข้อที่ 1) 4. นางร้ายสามารถสร้างสถานการณ์เพื่อข่มขืนพระเอกได้ (เพื่อหวังให้นางเอกเข้าใจผิด) แต่มักไม่ประสบความสำเร็จ สามารถข่มขืนพระเอกได้จริงๆ (แม้นางเอกไทยจะมีความต้องการทางเพศเหมือนนางร้าย แต่ต้อง Be the good girl you always have to be. Conceal, don't feel, don't let them know ส่วนนางร้ายมีสิทธิพิเศษที่จะ LET IT GO!) 5. นางร้ายไทย จำเป็นต้องคันมากๆ จึงไปวางแผนกับผู้ร้าย จนสุดท้ายก็จะถูกผู้ร้ายเจาะไข่แดง (หรือในบางกรณี พระเอกสามารถได้นางร้ายมาก่อนแล้ว นับครั้งไม่ถ้วน ซึ่งหน้าที่การเป็นพระเอก ทำให้มีสิทธิกระทำ โดยไม่ผิดศีลธรรมอันดีงามแต่ประการใด)และเพื่อให้สมกับเป็นบันเทิงไทยเมืองพุทธ ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว นางร้ายและผู้ร้าย ต้องสิ้นชีวิตไปเสีย ด้วยคมหอกคมดาบ คมกระสุน หรือโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์) 6. ผู้ร้ายมีสิทธิ์ข่มขืนนางร้ายเท่านั้น และต้องได้รับการพิพากษาจากตุลาการให้จำคุก และ/หรือได้รับการประหารชีวิตจากศาลเตี้ยผู้ทรงคุณธรรมศีลธรรมในสังคม ึ 7. พระเอกมีสิทธิ์ และหน้าที่ ข่มขืนนางเอก และไม่ต้องได้รับโทษทัณฑ์ตามกฎหมายบ้านเมือง.


    << 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12  13  14 >>